ร้อนใน แผลภายในช่องปากที่สร้างปัญหาทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกรำคาญ และทรมาน โดยเฉพาะเวลารับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม แปรงฟัน ขณะพูดคุย หรือแม้แต่การกลืนน้ำลาย ที่มักจะเกิดอาการเจ็บ และระคายเคืองบริเวณที่เป็นแผลได้
ร้อนในคืออะไร?
ร้อนใน เป็นอาการที่พบแผลเปื่อยบริเวณด้านในริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ใต้ลิ้น ปลายลิ้น โคนลิ้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่งภายในช่องปาก แผลร้อนในมักมีสีเหลืองหรือสีขาวล้อมรอบไปด้วยสีแดง ส่วนใหญ่มีลักษณะกลม มีขนาดเล็ก และมีความตื้น ขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ไปจนถึงเซนติเมตร และอาจพบมากกว่า 1 แผลได้เช่นเดียวกัน
ร้อนใน เกิดจากอะไร?
ในปัจจุบันอาการ ร้อนใน ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยบางอย่างอาจกระตุ้นให้เกิดร้อนในได้มากกว่าปกติ ดังนี้
- ร่างกายวิตามิน และเกลือแร่บางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี กรดโฟลิก และวิตามินบี 12
- พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย อดนอนเป็นประจำ
- ความเครียด เครียดสะสม หรือความวิตกกังวล รวมทั้งการมีอารมณ์โมโหฉุนเฉียว
- การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori)
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคเริม
- แพ้สารเคมีบางชนิด เช่น สารเคมีจากยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
- แพ้อาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต ถั่ว ชีส
- ทานอาหารรสจัด ทานของมัน ของทอดมากเกินไป
- การใส่เหล็กจัดฟันหรือใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดีช่องปาก ทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุในปาก
- การบาดเจ็บในช่องปาก เช่น เผลอกัดโดนริมฝีปาก หรือกัดโดนเนื้อเยื่อข้างกระพุ้งแก้ม ขณะเคี้ยวอาหาร
- การรับประทานอาหารที่มีกรด เช่น มะนาว หรือ ส้ม เป็นต้น
- เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน
- กรรมพันธุ์ หรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นแผลร้อนใน
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- การสูบบุหรี่
อาการของ ร้อนใน
โดยทั่วไปมักจะมีลักษณะบวมแดง และเจ็บตามจุดต่างๆ ภายในช่องปาก เช่น ที่ริมฝีปากด้านใน ลิ้น แก้ม และในบางรายอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นต้น แต่ก็ใช่ว่าภาวะร้อนในจะไม่มีอันตราย เนื่องจากยังมีอาการที่ควรเฝ้าระวังด้วย หากเกิดขึ้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ได้แก่
- แผลที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากกว่าจุดเดียว และเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ว่าแผลเก่าจะยังไม่หายก็ตาม
- แผลที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าปกติ หรือลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ
- มีอาการไข้สูงร่วมด้วยขณะมีแผลร้อนใน
- เป็นแผลร้อนในอย่างต่อเนื่อง และไม่มีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์
- ผู้ที่มีปัญหา หรือมีอุปกรณ์ด้านทันตกรรมในช่องปากจนเป็นเหตุให้แผลหายช้า
วิธีรักษาร้อนใน ทำได้อย่างไรบ้าง?
1. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด
โดยเฉพาะของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเผ็ดร้อน และผลไม้ที่มีกรดมาก อย่างสับปะรดหรือส้ม เพราะอาจส่งผลต่อการกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบ รวมไปถึงอาหารบางประเภท เช่น ลำไย ทุเรียน เป็นต้น
2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในทุกมื้อ โดยเฉพาะผักและผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอ และควรเน้นอาหารประเภทโฮลเกรน (Whole Grains) นม ถั่ว ไข่ ตับ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ปลา และอาหารทะเล เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายจะได้รับวิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี และกรดโฟลิกเพียงพอ
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อฟื้นฟูร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย
4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน นอกจากจะช่วยให้อาการดีขึ้น ยังดีต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
6. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก
โดยเฉพาะผู้ที่จัดฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์หากเครื่องมือทันตกรรมที่อยู่ในช่องปากมีความคมจนทำให้เกิดบาดแผลภายในช่องปากบ่อยครั้ง
7. จัดการกับความเครียด
พยายามลดความเครียด โดยการหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบ เพื่อช่วยลดความเครียด และเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องที่เครียด คลายความกังวล เพิ่มความสดชื่น ด้วยเครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้ว อย่าง Boom D-NAX วิตามินเม็ดฟู่แบบละลายน้ำ กลิ่นมิกซ์เบอร์รี่ ที่อุดมไปด้วยมัลติวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายถึง 10 ชนิด หอม อร่อย สดชื่น แถมมีประโยชน์อีกด้วย
8. ดูแลสุขภาพช่องปากอยู่เสมอ
ดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากด้วยการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้มีเศษอาหารตกค้างในช่องปาก ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในได้
เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีอยู่เสมอ เลือก Boom Nutrition Toothpaste ยาสีฟันสมุนไพรเนื้อไมโครเจล อ่อนโยน เย็นสดชื่น ไม่แสบปาก ซึ่งยาสีฟัน BOOM ยังมีคุณสมบัติช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของเหงือกและฟัน
ร้อนใน ไม่ได้นับว่าเป็นโรคร้ายแรง แต่อาการที่เกิดขึ้นมักคอยสร้างความรำคาญ และความลำบากในการใช้ชีวิตได้ ดังนั้นเราควรรักษาสุขอนามัยของช่องปาก เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะร้อนในให้ได้มากที่สุด และหากมีวิธีรักษาร้อนในอย่างถูกวิธี ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการของร้อนในให้ดีขึ้นได้