ปิ้งย่างจะเปิดใหม่อีกกี่สาขา ชานมจะฮิตติดเทรนด์อีกสักกี่แบรนด์ แล้วไง? วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก “เคล็ดลับปรับพฤติกรรมการกิน” ที่ไม่หักโหมอย่างเคย! เพื่อที่ทุกคนจะยังเพลิดเพลินกับการกินได้ แต่ไร้… ไขมันส่วนเกิน
ไขมันส่วนเกิน คืออะไร?
ไขมันส่วนเกิน คือ ปริมาณไขมันที่เกินความจำเป็นต่อร่างกาย ส่วนใหญ่มีที่มาจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร เนื้อสัตว์ติดไขมัน และอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
เมื่อเรารับไขมันเข้าสู่กระบวนการย่อยอาหาร ส่วนหนึ่งจะถูกสลายไปเป็นพลังงาน บางส่วนถูกขับถ่ายออกพร้อมอุจจาระ และส่วนที่เหลือจะถูกลำเลียงไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย
ซึ่งปริมาณไขมันที่ร่างกายควรได้รับอย่างเหมาะสมในแต่ละวัน คือ 50 – 75 กรัมต่อวัน ราวๆ 20 – 30% หรือ ประมาณ 400 – 600 กิโลแคลอรี ของพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี
ไขมันส่วนเกินถูกสะสมไว้ที่ไหน?
1. ไขมันส่วนเกิน ในหลอดเลือด
ไขมันส่วนเกินในหลอดเลือด เรามักเรียกว่า คอเลสเตอรอล โดยไขมันชนิดนี้จะสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด แล้วค่อย ๆ กลายเป็นคราบพลัค ที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดอักเสบ และเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุหลักของโรคภัยที่พบได้บ่อยกับคนไทย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
2. ไขมันส่วนเกิน ใต้ชั้นผิวหนัง
ไขมันส่วนเกินใต้ชั้นผิวหนัง จะถูกสะสมอยู่เหนือชั้นกล้ามเนื้อ ส่งผลกระทบให้ร่างกายมีสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้น หรือที่เราเรียกว่า “อ้วน” โดยบริเวณที่มักมีไขมันสะสมอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ต้นขา ต้นแขน แก้ม คอ หน้าท้อง และก้น
- ต้นแขนหนา เนื้อบริเวณท้องแขนห้อยต่องแต่ง จับไปแล้วไม่รู้สึกถึงกล้ามเนื้อ เวลาที่ปล่อยแขนลงจะสังเกตเห็นว่า ช่วงแขนดูหนาบึก แถมยังรู้สึกร้อนใต้วงแขนง่ายขึ้น
- ขาเบียด เกิดการเสียดสีบริเวณขาอ่อนบ่อย ๆ จนผิวไหม้ เป็นแผลแสบคัน
- หน้ากลม ไขมันออกแก้ม มองเข้ามาตรง ๆ จะเห็นว่าหน้าบานออกข้าง หากมองมุมข้างจะเห็นว่าแก้มมีความนูนขึ้นจนแทบบดบังมิติของดั้งจมูก
- เหนียงออก เนื้อใต้คางย้อยแม้ไม่หดคอก็สังเกตเห็นเป็นคาง 2 ชั้น
- ก้นใหญ่ บั้นท้ายดูเผละไม่เป็นทรง เกิดความเหี่ยวย่น และสะโพกหนา เวลาใส่กางเกงมักติดปัญหาช่วงแก้มก้นและสะโพกบ่อยๆ
- อ้วนลงพุง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อยใต้สะดือหรือรอบเอว ทำให้รู้สึกอึดอัดเวลาใส่เสื้อผ้า และหายใจลำบากขึ้นขณะนั่งทำงาน
3. ไขมันส่วนเกิน ในช่องท้อง
ไขมันส่วนเกินในช่องท้อง เป็นไขมันส่วนเกินที่จะไปเกาะอยู่ตามอวัยวะสำคัญภายในต่าง ๆ บริเวณช่องท้อง ได้แก่ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับ นานวันเข้าก็ทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานผิดปกติ และเกิดโรคร้ายแรงตามมา เช่น โรคอ้วน โรคมะเร็งตับ เป็นต้น
ไขมันส่วนเกิน เกิดจากสาเหตุอะไร?
ไขมันส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากต่างสาเหตุ ก็มีระดับความยากง่ายในการควบคุมหรือลดไขมันส่วนเกินที่แตกต่างกัน โดยไขมันส่วนเกินนั้นเกิดขึ้นได้จาก 4 ปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์ เพศและอายุ พฤติกรรมการทานอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกาย
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่เกิดมาจากพ่อแม่ที่มีภาวะโรคอ้วน
- เพศและอายุ ระบบเผาผลาญทำงานแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น
- พฤติกรรมการทานอาหาร ทานของมัน ของทอด แป้ง และน้ำตาล เป็นประจำ
- พฤติกรรมการออกกำลังกาย นั่งทำงานนานๆ ไม่ค่อยขยับเดิน หรือทำกิจกรรมใช้แรง
10 พฤติกรรมของคนยุคใหม่ ที่ทำให้มี ไขมันส่วนเกิน
1. กินไม่เลือก
เช้ากะเพราะหมูกรอบ เที่ยงข้าวมันไก่ ระหว่างวันชานมกาแฟ ตกเย็นเปิดตี้ปิ้งย่างชาบู หนักไปที่สัดส่วนไขมันและน้ำตาล
2. ไม่จำกัดปริมาณอาหาร
ยัดเกินขีดจำกัด อิ่มแล้วไม่ยอมหยุดกินเพราะเสียดาย จนแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับ เกิน 2,000 กิโลแคลอรี่ในแต่ละวัน และกระเพาะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนกินเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกอิ่มง่ายๆ
3. ดื่มน้ำเปล่าน้อย
ชอบดื่มชา กาแฟ หรือน้ำหวาน เพลินๆ ระหว่างนั่งทำงาน และดับกระหายจากความเหนื่อยล้า ทำให้ร่างกายเสพติดของหวาน เมื่อร่างกายได้รับน้ำเปล่าไม่เพียงพอต่อความจำเป็น ระบบเผาผลาญไขมันจึงทำงานช้าลง
4. ไม่ชอบขยับตัว / ไม่มีเวลาออกกำลังกาย
เทคโนโลยีและบริการมากมาย ที่เอื้ออำนวยต่อความสะดวกสบายในปัจจุบัน ทำให้เราแทบไม่ต้องขยับเดินไปไหนก็มีชีวิตอยู่ได้ในแต่ละวัน เช่น การสั่งอาหารให้มาส่งถึงห้อง เรียกใช้บริการรถรับ-ส่ง สนทนาผ่านการพิมพ์แชทหรือวิดีโอคอล เป็นต้น
5. ชอบดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย จึงไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์และถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย โดยเฉพาะที่หน้าท้องทำให้ อ้วนลงพุง
6. กินอาหารโภชนาการไม่เหมาะสม
เน้นทานอาหารจานด่วนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แต่ได้สารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ทำให้ขาดโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และไม่มีการควบคุมปริมาณน้ำมัน แป้ง และน้ำตาล ในแต่ละมื้อ
7. กินจุบจิบ ติดอาหารแปรรูป
หาซื้อสะดวก แถมอร่อยเพลิน แป๊บเดียวแคลอรี่เกินแม็กซิมัม ทั้งไส้กรอก ชีส อาหารแช่แข็ง ขนมปัง บิงซู อู้หู!!! ให้พลังงานสูงสุดๆ แถมแฝงมาด้วยน้ำตาล โซเดียม และไขมันอิ่มตัวเน้นๆ
8. พักผ่อนไม่เพียงพอ
ติดซีรีส์ตาแฉะ ชิทแชทเมามันส์กับเดอะแก๊ง ท่องโลกยามราตรี ไถมือถือจนเวลาล่วงเลย เหล่านี้คือพฤติกรรมของคนยุคใหม่ที่เบียดเบียนเวลาแห่งการนอนหลับจนแทบไม่มีเหลือ ทำให้เกิดภาวะบวมอืดตามมา เพราะระบบเผาผลาญทำงานเสื่อมถอย
9. ความเครียดสูง
แม้ว่ายุคนี้จะมีสิ่งบันเทิงใจมากมาย แต่ความสุขแท้จริงทางใจกับลดน้อยลง ด้วยผลกระทบของความเครียดจากงานที่ต้องแข่งขันสูง วิถีชีวิตที่ต้องแข่งกับเวลา สภาพแวดล้อมที่แออัด ภาระค่าใช้จ่าย ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ และปัญหาส่วนตัวต่างๆ
10. ทานอาหารเสริมแบบผิดๆ
เลือกผิดชีวิตพัง เชื่อว่าผู้หญิงแทบทุกคนเคยผ่านประสบการณ์ลดน้ำหนักแบบหักโหมร่างกาย และทำร้ายสุขภาพกันมาไม่มากก็น้อย ทั้งการกินยาลดน้ำหนักอันตราย การอดอาหาร หรือการล้วงคอ ซึ่งสุดท้ายก็ต้องจบด้วยการที่สุขภาพย่ำแย่และโยโย่เอฟเฟกต์นับครั้งไม่ถ้วน
วิธีลด ไขมันส่วนเกิน ให้ได้ผล!
หลักสำคัญคือการปรับเปลี่ยนตัวเองให้มี “ไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพ” ในทุกๆ ด้านไปพร้อมกัน จากพฤติกรรมที่ไม่ดี 10 ข้อ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ค่อยๆ ลด-ละ-เลิก อย่างเข้มงวดกับตัวเองแต่ไม่หักโหมจนความสุขหล่นหายระหว่างทาง
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทผัดและทอด มีน้ำมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง
- จำกัดแคลอรี่ไม่ให้เกิน 2,000 ต่อวัน ไม่เบิ้ลข้าว อิ่มแล้วหยุด ปาร์ตี้ได้ 1 ครั้ง/สัปดาห์
- ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน (ดูวิธีการดื่มน้ำได้ที่นี่)
- ขยับเดินบ่อยๆ เลี่ยงกายใช้ลิฟต์ ยานพาหนะ และบริการส่งอาหาร
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีนและผักผลไม้ในทุกมื้อ
- เลือกทานของว่างเพื่อสุขภาพ ใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนน้ำตาลและครีมเทียม
- นอนหลับพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
- ออกไปเจอโลกกว้างและใช้เวลากับสิ่งที่สร้างความสงบสุขทางใจ
- เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ และผ่านการรับรอง อย.
สำหรับใครที่อ่านมาจนถึงตอนนี้ แล้วยังมีความกังวลในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร เรามีผลิตภัณฑ์ที่ดีมาก ๆ มาป้ายยากันด้วย!
- iCON MEAL ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร โชนาการครบ 5 หมู่
- Zip Dietary Supplement Product รูปซิปปิดความอยาก รูดซิบเปิดการเผาผลาญ
มั่นใจได้เลยว่า 2 ผลิตภัณฑ์นี้ จะเป็นคู่หูที่รู้ใจของคนที่อยากลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกิน พร้อมพาคุณไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จแน่นอน
อ้างอิง :